แอดไลน์ คลิกเลย
วันเสาร์-อาทิตย์ กรุณาติดต่อผ่านไลน์

*** ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
การทำธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดเบื้องต้น




















การทำธุรกิจผลิตน้ำดื่ม - ขั้นตอนและข้อกำหนดต่างๆ

ปัจจุบันธุรกิจการผลิตน้ำดื่มได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและผู้ต้องการลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำดื่ม กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นอันดับต้นๆ ในการดำรงชีีวิต และการบริโภคน้ำดื่มที่สะอาดมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากล จึงเป็นหนึ่งสินค้าที่ได้รับเลือกในการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ อยู่เสมอ



บทความนี้ เรามาสร้างความเข้าใจในธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มเพื่อจำหน่าย รวมถึงข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการ

ผลิตภัณฑ์นํ้าดื่ม (Product)

    ในท้องตลาด นํ้าดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นํ้าดื่มในภาชนะที่เป็นพลาสติกใสและพลาสติกขุ่น ผู้บริโภคจะนิยมดื่มน้ำในภาชนะบรรจุที่เป็นพลาสติกใสมากกว่า เพราะมีความเชื่อมั่นต่อความสะอาดและปลอดภัย การที่ผู้บริโภคหันมานิยมดื่มนํ้าบรรจุขวดเนื่องจากเห็นว่าหาซื้อง่าย และที่สำคัญคือมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

    ลักษณะที่ดีของนํ้าดื่มบรรจุขวด/ถัง

    1. สภาพภายนอกและสภาพภายในของขวด/ถังที่ใช้บรรจุต้องสะอาด บริเวณฝาปิดต้องไม่มีคราบปนเปื้อน ฝาต้องปิดสนิท มีแผ่นพลาสติกรัดฝาอีกชั้นหนึ่ง

    2. ลักษณะของนํ้าต้องใส ไม่มีตะกอน สี กลิ่น รสที่ผิดปกติ

    3. ฉลากต้องระบุชื่อ ตราน้ำ ดื่มที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ เลขทะเบียน อยอย่างชัดเจน

 




ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจผลิตน้ำดื่ม

    1. ติดต่อกับหน่วยงานราชการ

    2. จัดเตรียมในส่วนของพื้นที่โรงเรือน

    3. จัดเตรียมและในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม

    4. จัดเตรียมในส่วนของกำลังคน

    5. จัดเตรียมในส่วนของตลาดและกลุ่มลูกค้า


     การติดต่อกับหน่วยงานราชการ

     ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนี้

1. หน่วยงานท้องที่ ในเรื่องการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และการช ระภาษีโรงเรือน

    -การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

                ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด  องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เป็นต้นและส่วนราชการท้องถิ่นนั้น มีข้อกำหนดให้การผลิตอาหารต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่

                    สถานที่ติดต่อ

                    กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักงานเขตต่างจังหวัด ติดต่อราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตำบล

                 ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต

                ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไป ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1,000 บาท แต่อัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้คือ10,000 บาท

     - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

                ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

                สถานที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

                กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการสามารถชำระได้ยังสำนักงานเขต ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ต่างจังหวัด ชำระได้ที่เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล


2. กรมโรงงาน หากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงาน ดูได้จากจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร

สถานที่เข้าข่ายโรงงาน สามารถแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

        - โรงงานประเภท 1        มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 5 – 20 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 20คน โรงงานประเภทนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

 

      - โรงงานประเภท 2       มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 20 – 50 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 50 คน เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

 

      - โรงงานประเภท 3      มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเกิน 50 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50คน หรือโรงงานประเภท 1 และ 2 ที่มีการใช้ ฟืน ขี้เลื่อย หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ผู้ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตก่อน จึงจะตั้งโรงงานได้

               การชำ ระค่าธรรมเนียม

            ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มีตั้งแต่ 500 บาท สูงสุด 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร

            ค่าธรรมเนียมรายปี

            ตั้งแต่ 150 บาท สูงสุด 18,000 บาท ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 ต้องชำ ระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ถ้าผู้ประกอบการมิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน

            สถานที่ชำ ระค่าธรรมเนียม

            โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ชำระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนโรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชำระที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่


3. กรมทรัพยากรธรณี (หรือกรมทรัพยากรน้ำบาดาล) ในกรณีที่ไม่มีนํ้าประปาหรือนํ้าประปาไม่เพียงพอ

4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการจัดตั้งกิจการ

5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด เช่น การขออนุญาตผลิตอาหารและการขอเครื่องหมาย อย.

        การขออนุญาตผลิตอาหาร

        สำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ผลิตอาหารต่อสำ นักคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

        สถานที่ติดต่อ (กรณีเข้าข่ายโรงงาน)

         กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่

 ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกำหนดและนำ ผลวิเคราะห์มายื่นขออนุญาตผลิตต่อสำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)

        สถานที่ออกใบอนุญาต (เครื่องหมาย อย.)

        กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข .ติวานนท์ นนทบุรี11000ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่  

6. กรมสรรพากร เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม


การจัดเตรียมพื้นที่โรงเรือน

โรงงานสิ่งปลูกสร้างและสภาพแวดล้อม

  สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

            สถานที่ตั้งของตัวอาคารและบริเวณใกล้เคียงต้องอยู่ในที่เหมาะสม ไม่ทำ ให้เกิดการปนเปื้อนกับนํ้าบริโภค หรือถ้าผู้ผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ผลิตก็ต้องมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม อาคารผลิตต้องมีผนังทั้ง 4 ด้าน การจัดอาคารอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย

1. ห้องติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ปรับคุณภาพนํ้า ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง มีทางระบาย

นํ้าไม่มีนํ้าขัง




2. ห้องหรือบริเวณเก็บภาชนะก่อนล้าง ห้องนี้ต้องมีพื้นที่แห้ง มีชั้น หรือยกพื้น มีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง



3. ห้องหรือบริเวณล้างและฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุ ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และมีทางระบายนํ้า มีระบบจัดแยกภาชนะที่กำลังรอล้าง และที่ล้างแล้ว

  



4. ห้องบรรจุ ห้องนี้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทางเข้าออกที่สามารถป้องกันสัตว์ แมลง ไม่เป็นทางเดินผ่านไปยังบริเวณหรือห้องอื่นๆ มีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และมีทางระบายนํ้า มีโต๊ะ และหรือแท่นบรรจุ ซึ่งทำ ความสะอาดง่าย ห้องบรรจุดังกล่าวต้องมีการใช้ และปฏิบัติงานจริง



5. ห้องหรือบริเวณเก็บผลิตภัณฑ์ ห้องนี้ต้องมีชั้น หรือยกพื้นรองรับ มีระบบการเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อรอจำหน่าย




 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต

         ผิวหน้าของเครื่องหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสโดยตรงกับนํ้าบริโภค ต้องทำ จากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมและไม่เป็นพิษ เครื่องมือเครื่องจักรต้องสามารถทำ ความสะอาด ฆ่าเชื้อได้ง่าย และมีจำนวนพอเพียง

 เครื่องมืออย่างน้อยต้องประกอบด้วย

1. เครื่องหรืออุปกรณ์การปรับคุณภาพนํ้า




2. เครื่องหรืออุปกรณ์ล้างภาชนะบรรจุ




3. เครื่องหรืออุปกรณ์การบรรจุ


   


4. เครื่องหรืออุปกรณ์การปิดผนึก

5. โต๊ะหรือแท่นบรรจุ ที่เหมาะสมสำ หรับขนาดบรรจุที่ต่างกัน




6. ท่อส่งนํ้าเป็นท่อพลาสติก PVC หรือวัสดุอื่นที่มีคุณภาพทัดเทียมกันดังกล่าวมีสภาพการทำ งานที่ดี นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังต้องได้รับการทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังการผลิต หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม


ผู้ผลิตควรตรวจสอบประสิทธิภาพการทำ งานของอุปกรณ์อย่างสมํ่าเสมอเพื่อให้อุปกรณ์มีความสมบูรณ์

หากสนใจระบบผลิตน้ำ และอุปกรณ์ในโรงผลิตน้ำขายส่งในราคาถูก รบกวนติดต่อที่

บริษัท พีพีที คอร์ปอร์เรชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด

เวปไซต์ www.pptcorps.com

Line ID: @pptcorps

 
เว็บสำเร็จรูป
×